ตัวอย่างชื่อไม่ควรตั้ง เพราะมีคำความหมายไม่ดีซ่อนในชื่อ

– วัศพล –

ลองแยกตัวอักษรออก

วั – ศพ – ล     พบว่า มีคำว่า ศพ ในชื่อ

– กาญจนา –

ลองแยกตัวอักษรออก

กาญ – จน – า    พบว่า มีคำว่า จน ในชื่อ

ความหมายรวมดี แต่แยกส่วนแล้วไม่ดี

แต่ทุกอย่างแล้วแต่ความเชื่อ และความสบายใจ

ตัวอย่างชื่อไม่ควรตั้ง เพราะเมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษแล้วความหมายไม่ดี

ชื่อภาษาไทยที่มีคำว่า ชิด หรือ ชิต ( เช่น บุญชิต, ชิดชนก ) เมื่อสะกดเป็นภาษาอังกฤษจะได้เป็น chit

คำว่า chit  ใกล้เคียงกับ shit ที่แปลว่าอุจจาระ

ชื่อภาษาไทยที่มีคำว่า พร หรือ ภรณ์ ( เช่น ธนพร, พิริยาภรณ์ ) เมื่อสะกดเป็นภาษาอังกฤษจะได้เป็น porn

คำว่า porn แปลว่า โป๊

การเขียนชื่อไทย ให้เป็นภาษาอังกฤษ

มีหลักของราชบัณฑิตยสถาน ทีมักนำมาอ้างกัน คือ หลักการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

คลิกดูได้ที่นี่

แต่มีประเด็นน่าสนใจ 2 ประเด็น

ประเด็นแรก คือ  การถอดอักษรเป็นโรมัน ไม่ใช่อักษรอังกฤษ ซึ่งราชบัณฑิตเคยอธิบายว่า อักษรโรมันเป็นอักษรที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่อักษรอังกฤษยังมีการเปลี่ยนแปลงได้อยู่ จึงเลือกถอดเป็นอักษรโรมัน

ประเด็นที่สอง คือ ชื่อเฉพาะของบุคคล ไม่จำเป็นต้องใช้หลักการนี้

เช่น ยิ่งลักษณ์ ถ้าใช้หลักนี้จะต้องเป็น Yinglak แทนที่จะเป็น Yingluck ตามในปัจจุบัน

หรือ อภิสิทธิ์ จะต้องเป็น Aphisit แทนที่จะเป็น Abhisit

 

ความสัมพันธ์ของตัวอักษร ในอเมริกา

วัฒนธรรมของต่างประเทศจะเรียกนามสกุลแทนชื่อในกรณีไม่สนิทกันหรือเรียกแบบเป็นทางการ เช่น จอร์จ บุช ก็เรียกว่ามิสเตอร์บุช  อัล กอร์ ก็เรียกว่า มิสเตอร์กอร์

และในการสำรวจรายนามผู้บริจาคในการเลือกตั้งประธานาธิบดีระหว่างจอร์จ บุช กับ อัล กอร์ พบว่า ผู้ที่นามสกุล ขึ้นต้นด้วยตัว B จะบริจาคให้บุช มากกว่า และผู้ที่นามสกุลขึ้นต้นด้วยตัว G จะบริจาคให้กอร์ มากกว่า

อาจเป็นไปได้ว่า ตัวอักษรที่เหมือนกัน อาจเพิ่มความเชื่อมโยงทางจิตใจ

อายตนะ 6

อายตนะ เป็นศัพท์ทางพุทธศาสนา หมายถึง สิ่งที่เป็นสื่อสำหรับติดต่อกัน ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น

แบ่งเป็น 2 อย่างคือ

อายตนะภายใน หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน บ้างเรียกว่า อินทรีย์ 6 มี 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดนี้เป็นที่เชื่อมต่อกับอายตนะภายนอก

อายตนะภายนอก หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่นอกตัวคน บ้างเรียกว่า อารมณ์ 6 มี 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้งหมดนี้เป็นคู่กับอายตนภายใน เช่น รูปคู่กับตา หูคู่กับเสียง เป็นต้น

มีการนำตัวอักษรไทยมาแปลงเป็นตัวเลขและนำมารวมกัน ตามค่ากำลังของดาว(ตามหลักพราหมณ์) ให้กลายเป็นเลขโดด

กลุ่มที่ 1 สระทั้งหมด – อาทิตย์ กำลัง 6
กลุ่มที่ 2 ก ข ค ฆ ง – จันทร์ กำลัง 15
กลุ่มที่ 3 จ ฉ ช ฌ ญ – อังคาร กำลัง 8
กลุ่มที่ 4 ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ – พุธ กำลัง 17
กลุ่มที่ 5 บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม – พฤหัสบดี กำลัง 19
กลุ่มที่ 6 ศ ษ ส ห ฬ อ – ศุกร์ กำลัง 21
กลุ่มที่ 7 ด ต ถ ท ธ น – เสาร์ กำลัง 10
กลุ่มที่ 8 ย ร ล ว – ราหู กำลัง 12

จากนั้นนำเลขโดด 1-9 มาแปลงเป็นความหมาย โดยไม่พบที่มาว่า 1-9 นี้ อิงจากดาวของไทย หรือสากล และยังไม่พบว่ากระบวนการแปลงหรือแปลความหมายเกี่ยวพันกับอายตนะ 6 อย่างไร ทำให้เกิดการลังเลในการนำไปใช้ และก็เช่นเดียวกับหลักเลขศาสตร์ การนำมาใช้ในการตั้งชื่อ อาจทำให้ชื่อมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น ทำให้หลายๆท่าน ไม่นำไปใช้ในการตั้งชื่อ

 

เลขศาสตร์

ภาษาอังกฤษ เรียกว่า numerology เป็นศาสตร์ที่ใช้การแปลงถ้อยคำเป็นตัวเลข และนำมาบวกกันให้เป็นเลขสองหลัก หรือเลขโดด แล้วอ่านคำทำนาย

การแปลงถ้อยคำเป็นตัวเลข มี 2 ที่มา

ที่มาแรก อ้างมาจากพีธากอรัส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก  โดยแปลงดังนี้

1 = a, j, s,
2 = b, k, t,
3 = c, l, u,
4 = d, m, v,
5 = e, n, w,
6 = f, o, x,
7 = g, p, y,
8 = h, q, z,
9 = i, r,

อีกที่มา จากไคโร(Cheiro) หมอดูชาวไอริช ซึ่งอ้างว่าได้จาก คาลเดียน ซึ่งเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอาณาจักรบาบิโลน  เลขศาสตร์ของไทยนำของไคโรมาประยุกต์อีกที ดังตารางด้านล่าง

ค่าเลข
   อักษรไทย , สระ , วรรณยุกต์
  ภาษาอังกฤษ
1
  ก   ด  ท  ถ  ภ  ฤ  ฤา   ่  ุ    า     ำ    
A  I  J  Q  Y 
2
  ข    ช   ง    บ   ป     ู   เ   แ       
B  K  R
3
  ฆ    ต   ฑ   ฒ     ๋     
C  G   L  S
4
  ค    ธ   ญ   ร   ษ  โ   ะ    ั     ิ  
D  M  T
5
  ฉ   ณ   ฌ   น   ม   ห   ฎ   ฬ  ฮ    ึ 
E  H  N  X
6
  จ    ล   ว   อ  ใ                    
U   V  W
7
  ซ   ศ   ส                        
O   Z
8
  ผ    ฝ   พ   ฟ    ย                   
F   P
9
  ฏ    ฐ    ไ      

นอกจากวิธีการแปลงอักษรเป็นตัวเลขที่มีความแตกต่าง ตำราแต่ละเล่มก็มีความแตกต่างในการแปลความหมายของตัวเลข และเลขศาสตร์ซึ่งไม่ใช่ศาสตร์ไทยแท้ ยังทำให้การสะกดของชื่อมีความซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้น

ทำให้หลายๆท่าน ไม่ใช้เลขศาสตร์ร่วมในการตั้งชื่อ

การตั้งชื่อตามทักษา

โดยแบ่งตัวอักษรไทย และสระไทย เป็น 8 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 สระทั้งหมด ยกเว้น ไม้หันอากาศ การันต์
กลุ่มที่ 2 ก ข ค ฆ ง
กลุ่มที่ 3 จ ฉ ช ฌ ญ
กลุ่มที่ 4 ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
กลุ่มที่ 5 บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
กลุ่มที่ 6 ศ ษ ส ห ฬ อ
กลุ่มที่ 7 ด ต ถ ท ธ น
กลุ่มที่ 8 ย ร ล ว

โดยแต่ละกลุ่มตัวอักษร จะเป็นอักษรแทนถึงปัจจัยด้าน บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี และกาลกิณี ซึ่งคนที่เกิดแต่ละวัน  ปัจจัยต่างๆและกลุ่มอักษรจะแตกต่างกันดังตาราง

วันเกิด

บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี กาลกิณี
วันอาทิตย์ 1 2 3 4 7 5 8 6
วันจันทร์ 2 3 4 7 5 8 6 1
วันอังคาร 3 4 7 5 8 6 1 2
วันพุธกลางวัน 4 7 5 8 6 1 2 3
วันพฤหัสบดี 5 8 6 1 2 3 4 7
วันศุกร์ 6 1 2 3 4 7 5 8
วันเสาร์ 7 5 8 6 1 2 3 4
วันพุธกลางคืน 8 6 1 2 3 4 7 5

โดยความหมายของแต่ละปัจจัยมีดังนี้

  • บริวาร หมายถึง คนในครอบครัวที่เราต้องดูแล ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา
  • อายุ หมายถึง สุขภาพ พลังชีวิตของตนเอง
  • เดช หมายถึง ความสำเร็จของการเรียนและการทำงาน
  • ศรี หมายถึง สเน่ห์ สิ่งที่ดีงาม สิริมงคล
  • มูละ หมายถึง ถิ่นฐานที่อยู่ ทรัพย์สิน มรดกตกทอด
  • อุตสาหะ หมายถึง ความพากเพียรในการเรียนและการทำงาน
  • มนตรี หมายถึง ผู้อุปถัมภ์เรา ได้แก่ บิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ เจ้านาย หัวหน้า ฯลฯ
  • กาลกิณี หมายถึง สิ่งไม่ดีทั้งปวง

การตั้งชื่อควรตั้งชื่อไม่มีกาลกิณี ผู้ชายควรมีเดช ผู้หญิงควรมีศรี

ทักษามีที่มาจาก ลิลิตทักษาพยากรณ์ พระนิพนธ์ของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี

ความสัมพันธ์ของชื่อ ของครอบครัวพจมาน

พ่อ – พลตำรวจโทเสมอ ดามาพงศ์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
แม่ - คุณหญิงพจนีย์ ณ ป้อมเพชร

ลูก
พงศ์เพชร ดามาพงศ์
พลตำรวจเอกเพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
พลตำรวจโทพีระพงศ์ ดามาพงศ์
คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร
บุตรบุญธรรม - บรรณพจน์ ดามาพงศ์

อักษร พ ของครอบครัวนี้ มีในชื่อและนามสกุลของพี่น้องทุกคนรวมทั้งพ่อแม่ ยกเว้นเพียงในชื่อพ่อที่ไม่มี พ แต่ก็มี  พ จากยศพลตำรวจโท ซึ่งก็เป็นหนึ่งในสิ่งเชื่อมโยงครอบครัวไว้ด้วยกัน

ความสัมพันธ์ของชื่อ ของครอบครัวชินวัตร

พ่อชื่อ เลิศ  แม่ชื่อ ยินดี

ลูกชายมี 3 คน ตั้งชื่อตามทิศ คือ ทักษิณ อุดร พายัพ

ลูกสาวมี 7 คน ทุกคนตั้งชื่อให้มีตัวอักษร ย ตามแม่ ได้แก่
เยาวลักษณ์ เยาวเรศ ปิยนุช เยาวภา มณฑาทิพย์ ทัศนีย์ ยิ่งลักษณ์

หลักการตั้งชื่อให้มีความสัมพันธ์กัน ส่งเสริมความสัมพันธ์จริงในครอบครัว